กลับหน้าหลัก >>>>>>>>>>>สรุปบทความ ด้านข้างของบล็อก คลิกบนรูป




“พืช” หมายถึง เมล็ดพันธุ์ไม้ พืชพันธุ์ก็ใช้ ในภาษาอาหรับเรียก ฮับบะฮฺ (حَبَّةٌ ) หรือ (حُبُوْبٌ ) หรือหมายถึง พรรณพืชทุกชนิด เรียกรวมๆ ในภาษาอาหรับว่า น่าบ๊าตฺ (نَبَاتٌ ) เรียกต้นไม้ ซึ่งหมายถึง พืชชนิดที่มีลำต้นใหญ่มีกิ่งแยกออกไปว่า ชะญะเราะฮฺ (شَجَرَةٌ ) และชาวอาหรับเรียกสมุนไพรว่า อัลอะอฺช๊าบ อัฏฏิบบียะฮฺ (اَلأَعْشَابُ الطِّبِّيَّةُ )

ในคัมภีร์อัลกุรอาน มีระบุถึงพันธุ์พืชและสมุนไพรตลอดจนผลไม้อาไว้หลายชนิด เท่าที่ตรวจทานพบมีดังนี้

1. อินทผลัม (อ่านว่า อินทะผะลำ) เป็นชื่อปาล์มชนิด Phoenix dactylifera Linn ในวงศ์ Plamae ผลกินได้ ภาษาปากมักเรียกว่า อินทผาลัม ในภาษาอาหรับ เรียกว่า อันนัคลุ้ (اَلنَّخْلُ ) หรือ อันนะคีลฺ (اَلنَّخِيْلُ ) เป็นไม้ยืนต้นชอบขึ้นในเขตร้อน มีลำต้นตั้งตรงและยาว มีผลออกเป็นทะลาย ผลของมันมีรสชาติอร่อย ใช้ทำแยมและบางชนิดใช้หมัก เรียกว่า นะบีซฺ อัลบะละฮฺ (نَبِيْذُاَلْبَلَحِ ) นักภาษาศาสตร์บอกว่า เหตุที่เรียกอินทผลัมว่า อันนะคีล เพราะมันมีรากศัพท์มาจากคำว่า นัคลฺ (نَخْلٌ ) ซึ่งหมายถึง คัดเลือก กลั่นกรอง เพราะอินทผลัมจัดเป็นพืชยืนต้นที่มีเกียรติที่สุดในประดาพืชยืนต้นด้วยกัน

ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงเรื่องของอินทผลัมเอาไว้หลายแห่งและหลายรูปคำ กล่าวคือ ใช้คำว่า “อันนัคลุ้” (اَلنَّخْلُ ) 10 แห่ง และใช้คำว่า “นัคลัน” (نَخْلاً ) 1 แห่งในบทอะบะสะ อายะฮฺที่ 29, และใช้คำว่า “อันนัคละฮฺ” (اَلنَّخْلَةُ ) 2 แห่งคือในบทมัรยัม อายะฮฺที่ 23 และ 25, และใช้คำว่า “นะคีล” (نَخِيْل ) 7 แห่งด้วยกัน รวม 20 แห่ง

อินทผลัมมีหลายสายพันธุ์และผลอินทผลัมก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น อัลบะละฮฺ (اَلْبَلَحُ ) ซึ่งเป็นผลอินทผลัมช่วงก่อนสุก เมื่อเริ่มเข้าสีเรียกว่า อัลบุสรุ้ (اَلْبُسْرُ ) พอเริ่มสุกเรียกว่า อัรรุฏ่อบุ้ (الرُّطَبُ ) ส่วนอินทผลัมแห้งอย่างที่วางขายทั่วไปนั้นเรียกว่า ตัมรฺ (تَمْرٌ ) ส่วนหนึ่งจากสายพันธุ์ของอินทผลัม คือ ซุกกะรีย์ (سُكَّرِي ) และอัจญ์วะฮฺ (عَجْوَة ) เป็นต้น


มี ปรากฏในอัลหะดีษซึ่งรายงานโดย อันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮฺ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ฎ) ว่า ท่านศาสดา (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวว่า “พวกท่านจงกินอินทผลัมสด (อัลบะละฮฺ) กับอินทผลัมสุกที่แห้ง (อัตตัมรฺ)...” นักการแพทย์ชาวมุสลิมระบุว่า ที่ท่านศาสดา (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ใช้ให้กินอินทผลัมสดกับอินทผลัมสุกที่แห้ง

โดย ไม่ใช้ให้กินอินทผลัมที่เริ่มเข้าสี (อัลบุสรุ้) กับอินทผลัมสุกที่แห้ง เป็นเพราะอินทผลัมสด (อัลบะละฮฺ) มีสรรพคุณเป็นของเย็นและแห้ง ส่วนอินทผลัมสุกที่แห้ง (อัตตัมรฺ) มีสรรพคุณเป็นของร้อนชื้น แต่ละชนิดจะแก้กัน เหมือนกับกินทุกเรียนซึ่งร้อนก็ให้กินมังคุดตามเพราะเป็นของเย็น ส่วนอินทผลัมที่เข้าสี (อัลบุสรุ้) นั้นมีสรรพคุณเหมือนกับอินทผลัมสุกที่แห้ง (อัตตัมรฺ) คือเป็นของร้อน อินทผลัมมีสรรพคุณร้อนค่อนข้างมาก จึงไม่เป็นการดีที่จะรวมเอาของกินที่มีสรรพคุณร้อนกับร้อนมารวมกันหรือเย็น กับเย็นมารวมกัน

อินทผลัม สด (อัลบะละฮฺ) มีสรรพคุณเย็นและแห้ง ทางยาแล้วมีประโยชน์ต่อปาก, เหงือก และกระเพาะอาหาร แต่ไม่ดีสำหรับอก ปอด ซึ่งมีอาการอักเสบ ย่อยยาก แต่ดูดซึมเป็นสารอาหารได้ง่าย อินทผลัมที่เข้าสี (อัลบุสรุ้) มีสรรพคุณร้อนแห้ง ลดความชื้น ฟอกกระเพาะ แต่ทำให้ท้องผูกได้



มี เรื่องราวตอนที่พระนางมัรยัม (อะลัยฮิซซลาม) คลอดท่านศาสดาอีซา (อะลัยฮิซซลาม) ถูกระบุไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน บทมัรยัม อายะฮฺที่ 25 ว่า “และ เจ้าจงเขย่าต้นอินทผลัมมาทางเจ้า มันจะหล่นลงมาบนตัวเจ้า เป็นอินทผลัมที่สดมีรสอร่อย แล้วเจ้าจงกินและจงดื่ม และจงทำจิตใจให้เบิกบานเถิด”

การ เขย่าต้นอินทผลัมให้สะเทือนจนทำให้ผลของมันร่วงหล่นลงมา ดูจะเป็นเรื่องที่ยากเย็นยิ่งนักสำหรับผู้หญิงตัวเล็กๆ มิหนำซ้ำยังเป็นหญิงที่เพิ่งจะคลอดบุตร แต่คำสั่งของพระผู้เป็นเจ้าในเรื่องนี้สอนให้รู้ถึงคุณค่าของความเพียร พยายาม ในการกระทำเหตุปัจจัยเสียก่อน ส่วนผลที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นการเอื้ออำนวยของพระผู้เป็นเจ้า (ซ.บ)

นัก วิชาการระบุว่า ในผลอินทผลัมสดนั้น “มีฮอร์โมน ไบโตซีน” ซึ่งมีสรรพคุณในการทำให้บาดแผลที่มดลูกหดหรือลดขนาดลงและห้ามเลือดออกที่ มดลูกได้ นอกจากนี้อินทผลัมยังมีกลูโคส 75-87 % ฟรุกโตส 45% และ ยังมีโปรตีนและไขมันตลอดจนวิตามินบางชนิด เช่น 10, บี 2, บี 12 และแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, โปตัสเซียม, กำมะถัน, โซเดียม, แมกนีเซียม, โคบอลต์, สังกะสี เป็นต้น ฟรุกโตสจะแปรสภาพเป็นกลูโคสอย่างรวดเร็วและดูดซึมโดยตรงจากระบบย่อยอาหาร จึงลดอาการอ่อนเพลียและการที่ร่างกายสูญเสียน้ำและกระตุ้นการทำงานของเซลล์ สมอง ระบบประสาท เซลล์เลือดแดง และกระดูกเป็นต้น

อินทผลัม ยังเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายตัว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้สารอาหาร การระงับประสาท การสร้างความชุ่มชื่น และการคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น (โดยสรุป, เมาซูอะฮฺ อัลอิอฺญาซฺ อัลอิลมี่ย์, ยูซุฟ อัลฮัจยีอะฮฺหมัด, สำนักพิมพ์ อิบนุ ฮะญัร, (2003) หน้า 755-758)
มีรายงานจากท่านอนัส (ร.ฎ) ว่า “ท่านศาสนทูต (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จะละศีลอดด้วยอินทผลัมสดหลายเม็ดก่อนหน้าที่ท่านจะละหมาด...” ทั้งนี้เนื่องจากการถือศีลอด ทำให้กระเพาะอาหารว่าง เมื่อทานอินทผลัมสดเข้าไป ความหวานของอินทผลัมจะไปดูดซึมไปหล่อเลี้ยงตับและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้กลับมาชุ่มชื่นขึ้นอีกครั้ง


ในนครมาดีนะฮฺ มีอินทผลัมสายพันธุ์ที่ดีที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง เรียกว่า อัจวะฮฺ (عَجْوَةٌ ) มีรสชาติอร่อย ไม่หวานมาก มีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นยารักษาโรคได้ มีระบุในอัลหะดีษว่า “ผู้ใดรับประทานอินทผลัมอัจวะฮฺ 7 เม็ดในยามเช้า พิษและไสยศาสตร์ย่อมไม่ทำอันตรายผู้นั้นได้ในวันดังกล่าว” จากอัลหะดีษบทนี้ อินทผลัม อัจวะฮฺมีสรรพคุณในการป้องการคุณไสยและพิษต่างๆ หากรับประทานเป็นประจำ จำนวน 7 เม็ด

อัลหะดีษอีกบทหนึ่งระบุว่า : อินทผลัมที่ดีที่สุดของพวกท่านคือ อัลบุรนี่ย์ (اَلْبُرْنِيُّ ) มันจะทำให้โรคหมดไป และไม่มีโรคร้ายในมัน (บันทึกโดย อัตตอบรอนีย์, อัลฮากิม, อิบนุ อัซซุนนีย์ และอบูนุอัยมฺ เป็นหะดีษฮะซัน) ดร.อับดุลลอฮฺ อับดุรร่อซฺซ๊าก อัสสะอีด ได้ทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปรากฏว่า เชื้อโรคไม่อาจมีชีวิตอยู่ในอินทผลัมได้จริงตามที่ระบุในอัลหะดีษ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Selamat Hari Raya Aidilfitri al-mubarak 1431 H.

โลโก้

โลโก้
satu-indah.blogspot.com

ผู้เข้าชม

free counters
บทความเดือนรอมาฎอน

Keutamaan Malam Lailatul Qadar

Hikmah Malam Lailatul Qadar

Tanda-Tanda Malam Lailatul Qadar

Menantikan Malam Lailatul Qadar

Teladan 10 akhir Ramadan Nabi

Amalan di 10 malam akhir Ramadhan

คุณค่าของการละหมาด ตะฮัจยุด

Ahlan Ramadhan egypt

พันธุ์ไม้และสมุนไพรในอัลกุรอาน

HIKMAH PUASA RAMADHAN

Perkara-perkara sunat di Bulan Ramadhan

Ramadhan Satu Latihan Oleh Tok Guru Nik Aziz

PUASA MELAYU Oleh Ustaz Azhar

Mensyukuri Kedatangan Ramadan

Fadhilat dan Kelebihan Tarawih
ขับเคลื่อนโดย Blogger.